ท่านผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่า เวลาได้กลิ่นอะไรสักอย่าง คนเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกลิ่นนั้นอย่างฉับพลันทันที ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ แตกต่างออกไปตาม ‘จมูก’ หรือรสนิยมของแต่ละคน กลิ่นเดียวกันอาจทำให้สมองของคนหนึ่งหลั่งสารเอนโดรฟีน ที่ทำให้อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน คลายความเครียดลงได้ทันตา หรืออาจทำให้อีกคนคลื่นไส้จนทนไม่ได้ ทั้งที่คนอื่นว่าหอม แทนที่จะทำให้คลายเครียด กลับยิ่งเครียดหนักเข้าไปอีกหลายเท่า

น้ำหอมกลิ่นดอกไม้ที่ให้อารมณ์หวานแบบผู้หญิง...ผู้หญิง ที่สาวๆ หลายคนชื่นชอบ แต่หนุ่มไทยจำนวนมากกลับทนกลิ่นแทบไม่ไหว ที่มาภาพ : http://www.imagesdeparfums.fr
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะโมเลกุลของกลิ่นที่ผ่านเข้าจมูกไปนั้น จะถูกส่งตรงไปยังสมองส่วน limbic ซึ่งควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและความทรงจำต่างๆ โดยทันที ปกติแล้วมนุษย์เราจะใช้ประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นและการได้ยินเพื่อซึมซับ ข้อมูลจากสภาพแวดล้อมมากที่สุด ทว่าฆานประสาทหรือประสาทรับกลิ่นนั้นถือว่าเป็นประสาทสัมผัสที่มีความสลับ ซับซ้อน มีอานุภาพในการกระตุ้นเตือนความทรงจำในอดีตและมีผลต่อสภาพจิตใจคนเรามากที่ สุด
ผู้เขียนจำได้ว่า กลิ่นน้ำหอมของคุณย่า คุณป้า ที่ผู้เขียนได้ใกล้ชิดในวัยเยาว์ ทำให้เกิดความอบอุ่นสบายใจอย่างบอกไม่ถูก แม้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว และได้กลิ่นนั้นจากที่อื่น ก็มักจะหวนนึกถึงภาพความทรงจำสวยงามในวัยเด็กอยู่ร่ำไป ขณะที่บางกลิ่นกลับกระตุ้นให้ระลึกถึงช่วงเวลาไม่ดี เช่น กลิ่นยาบางชนิด กลิ่นโรงพยาบาล กลิ่นอับของห้องในบ้านหลังเก่า หรือกระทั่งกลิ่นน้ำหอมที่เคยใช้ในช่วงเวลาสับสนหรือทุกข์ใจ เมื่อได้กลิ่นเหล่านี้เข้าอีกครั้ง ภาพความทรงจำเก่าๆ ดูจะหวนกลับมาอย่างชัดเจน นี่คือสาเหตุว่าทำไมกลิ่นจึงมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากมาย และคนเราก็รู้จักเลือกใช้กลิ่นหอมที่หลากหลายให้เกิดผลต่อร่างกายหรือจิตใจ ต่างกันไปตามความต้องการ

L'Air
du Temps ของ Nina Ricci
เป็นน้ำหอมกลิ่นโปรดของคุณย่าและคุณป้าของผู้เขียน
เมื่อได้กลิ่นนี้ทีไรจึงมักหวนนึกถึงความทรงจำในวัยเยาว์ทุกครั้ง ที่มาภาพ :
http://www.imagesdeparfums.fr
นับจากนั้น การผลิตน้ำหอมก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมา น้ำหอมแต่ละยุคสมัยจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สะท้อนอารมณ์หรือความรู้สึกร่วม กันของผู้คน อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือเหตุการณ์สำคัญของแต่ละยุค จนไม่แปลกที่จะกล่าวว่า กลิ่นหอมๆ นั้นถือเป็นส่วนสำคัญของอารยธรรมมนุษย์เลยทีเดียว
ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศสนั้นพระราชวังแวร์ซายเป็นศูนย์กลางทางศิลปะและความ งามของยุโรป ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของเครื่องหอมและเครื่องสำอาง เล่าลือกันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะทรงอาบน้ำเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในรอบ 4 ปี จนกลายเป็นแฟชั่นของชนชั้นสูงฝรั่งเศสสมัยนั้นที่ไม่นิยมอาบน้ำและหันมาใช้ เครื่องหอมประพรมร่างกายกันอย่างฟุ่มเฟือย นัยว่าเพื่อให้มีกลิ่นกายเย้ายวน กระตุ้นอารมณ์ทางเพศนั่นเอง แฟชั่นประหยัดน้ำนี้ยังฮิตต่อมาถึงสมัยจักรพรรดินโปเลียน ผู้เคยตรัสประโยคเด็ดในสาสน์ที่ส่งถึงพระนางโจเซฟีน ผู้เป็นมเหสีว่า “Je reviens en trois jours, ne te laves pas. เราจะกลับมาภายใน 3 วัน…อย่าอาบน้ำล่ะ” กลิ่นกายของมเหสีจักรพรรดิฝรั่งเศสนั้นจะเย้ายวนหรือฉุนแรงขนาดไหน ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูเองก็แล้วกัน

พระนางโจเซฟีน มเหสีของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ที่มาภาพ : http://www.visitingdc.com
มีผู้เปรียบเทียบว่า หากกลิ่นหอมที่สกัดจากดอกไม้แท้เป็นสวนดอกไม้ตามธรรมชาติ กลิ่นดอกไม้เจือกลิ่น aldehyde ก็คงเป็นภาพวาดสวนดอกไม้จากจินตนาการของศิลปินแนว Impressionism ท่านผู้อ่านลองนึกถึงภาพจากปลายพู่กันของ Paul Gauguin หรือ Claude Monet เส้นสายที่เคลื่อนไหวอย่างอิสระและสดใหม่ หรือสีสันกระจ่างสดใสดูเหนือจริง มิใช่ภาพเหมือนหรือเลียนแบบธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา แต่เป็นภาพที่กลั่นกรองจากความประทับใจของผู้วาด ซึ่งได้ใช้สายตาบันทึกภาพความงามของสรรพสิ่งในธรรมชาติ แล้ว “ตีความ” ออกมาในสไตล์ของตนเอง

ภาพวาดดอกบัวสายของ Claude Monet จิตรกรเอกแห่งสำนัก Impressionism ชาวฝรั่งเศส ที่มาภาพ : http://www.en.wikipedia.org
นับจากนั้น กลิ่นหอมก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมา ในยุคฮิปปี้-บุปผาชน น้ำหอมถูกปรุงแต่งให้มีกลิ่นสดชื่น สะท้อนอิสรภาพ ความเยาว์วัยและการกบฏต่ออำนาจ เมื่อถึงยุคของพวกยัปปี้และ Materialismในทศวรรษ 1980 เกิดแฟชั่นเสื้อไหล่ตั้ง รัดเอวคอดกิ่ว สาวๆ แต่งหน้าเข้มจัด ทรงผมพองฟู กลิ่นน้ำหอมเข้มข้นเย้ายวนของทั้งชายและหญิง สะท้อนความแข็งแกร่ง การบูชาเงิน และอำนาจ
กระทั่งเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคมิลเลนเนียม หลังผ่านสงครามและภัยพิบัติต่างๆ ผู้คนเริ่มปฏิเสธลัทธิบริโภคนิยม หันมาใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น ความสดชื่นและความสงบจึงกลายเป็น theme หลักของน้ำหอมยุคนี้ กลิ่นต่างๆ ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ทะเล สวนดอกไม้ หรือกลิ่นที่ทำให้หวนนึกถึงความทรงจำวัยเยาว์ อย่างกลิ่นขนม หรือผลไม้ ผู้เขียนจำได้ว่า เคยได้กลิ่นเหล่านี้ตามเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้ามากจนเอียน ต้องหันกลับมาหากลิ่นดอกไม้ไทยๆ หรือกลิ่นคลาสสิกต่างๆ เพราะไม่ ‘กรีดร้อง’ มากจนเกินไปว่า “ฉันเป็นสาวรุ่นใหม่นะ”

น้ำหอมยุคทศวรรษ 1990 สะท้อนความเยาว์วัย ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา และความงามของธรรมชาติ ที่มาภาพ : http://www.imagesdeparfums.fr
ความพยายามที่จะ ‘แตกต่าง’ อยู่เสมอ ทำให้ตลาดน้ำหอมระดับ niche หรือ exclusive เติบโตอย่างรวดเร็ว มีแบรนด์ใหม่ๆ ชื่อแปลกแต่เก๋ไก๋ออกสู่ตลาดมากจนจำแทบไม่ไหว สะท้อนให้เห็นว่าคนรักน้ำหอมพร้อมจะจ่ายเงินก้อนโต เพื่อครอบครองกลิ่นที่พิเศษ ไม่ซ้ำใคร ยิ่งชื่อจำยากเท่าไหร่ก็ยิ่งดูโดดเด่นน่าสนใจ อีกทั้งผลิตจากส่วนผสมคุณภาพสูงที่คัดสรรมาอย่างดี จึงแตกต่างอย่างชัดเจนจากน้ำหอมที่มีขายทั่วไปในห้างสรรพสินค้า
กระแส Retro ที่แพร่หลายในปัจจุบันยังทำให้น้ำหอมรุ่น vintage ที่ผลิตมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด หรือกลิ่นที่เลิกผลิตไปแล้วเป็นที่นิยมสุดๆ ยิ่งหายากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น บริษัทฝรั่งหลายแห่งหันมาเอาดีในธุรกิจ “ตามหาน้ำหอมที่หาย” เพื่อเอาใจคนจำนวนมากซึ่งโหยหากลิ่นที่เคยใช้ในวัยเยาว์และไม่สามารถซื้อหา ได้ตามท้องตลาดอีกต่อไป สะท้อนว่ากลิ่นหอมๆ นั้นจับจองที่นั่งพิเศษในใจใครหลายคน เพราะเชื่อมโยงกับความทรงจำดีๆ ในชีวิตที่อยากเรียกกลับคืน
*ผู้ที่ต้องการนำบางส่วนของบทความไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์ชนิดใดก็ตาม กรุณาระบุที่มาของข้อมูลด้วย…ขอบคุณมากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น